ประวัติวัดสะพานหิน



ประวัติวัดสะพานหิน
            วัดสะพานหินเดิมสันนิฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยสมเด็จนารายณ์มหาราช ในปี พ..๒๒๓๑ มีพระพุทธรูปประจำอุโบสถพระนามว่า พระศรีศากยมุณีสมณโคคมทศพลญาณ ทำด้วยทองสำฤทธิ์มีพุทธลักษณะปางมารวิชัยประทับบนบัลลังก์ วัดสะพานหินนั้นเดิมตั้งอยู่ในพื้นที่แดนกัมพูชา ตำบลวีเวียร อำเภอโพธิสัตว์ จังหวัดสะมอดา ติดกับแม่น้ำคลองคืน สมัยนั้นวัดสะพานหินเดิมมีชื่อเรียกว่า วัดหินงาม ( เรียกเป็นภาษาเขมรว่า  วอดสะมอสะอาด )  ต่อมาจากคำบอกเล่าในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช(พระเจ้ากรุงธนบุรี ) ทรงทราบว่าเขมรได้เข้ามารุกรานไทยทางเมืองตราดและเมืองจันทบุรี ก็ทรงขัดเคืองเขมรจึงเสด็จมาทางเมืองจันทบุรีจนมาถึงเมืองตราดและทรงได้เข้ามาประทับที่วัดสะพานหิน(เป็นวัดหินงามในสมัยนั้น) นับแรมเดือนเพื่อจัดเตรียมทับและกำลังพลไปตีกรุงกัมพูชา โดยเคลื่อนทับไปตามทางบกตีได้เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ และเมืองบริบูรณ์เข้าตามลำดับ แต่บังไม่ถึงเมืองบันทายเพชรซึ่งเป็นราชธานีของเขมร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าต้านไม่ไหว ก็ทิ้งเมืองบันทายเพชรและนำทัพกับเข้ามาประทับที่พนมเปญ และท่านเห็นวัดเก่าชำรุดทรุดโทรมไปมากจึงกลับมาบูรณะและซ่อมแซมไห้กับมาสู่สภาพเดิมแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงมอยกรุงกัมพูชาแก่พระรามราชาและก็เลิกทัพกับคืนมาพระนครในเดือนพฤศจิกายน พ..๒๓๑๔ จนสิ้นสุดสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชและวัดก็ได้ร้างมาเป็นเวลานาน
          ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เข้ามาทำการเปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนการปกครองระหว่าง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดศรีโสภณและจังหวัดเกาะกง โดยรับสั่งให้เจ้าเมืองตราดสำรวจวัดเก่าและเข้ารายงานความเสียหายของวัดเก่าต่างๆให้ทรงทราบ โดยมีชื่อวัดหินงามอยู่ด้วยในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ในแดนกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเก้ารับสั่งไห้เจ้าเมืองตราดเข้าทำการปรับปรุงซ่อมแซมวัดหินงามให้กับสู่สภาพเดิมและเจ้าเมืองตราดได้นิมนต์พระมหาจันไห้มาเป็นเจ้าอาวาสประจำวัดหินงาม ซึ่งทางพระมหาจันได้เดินทางมาจากจังหวัดเกาะกงและตั้งให้พระมหาจันเป็นอุปัชฌาย์ ท่านจึงให้พระมหาจันเป็นผู้ดูแลวัดทั้งหมดและย้ายวัดสะพานหินพร้อมด้วยชาวบ้านหินงามทั้งหมดลงมาอยู่ในหมู่บ้านสะพานหินในประเทศไทยและเปลี่ยนชื่อจากวัดหินงามให้เป็นวัดสะพานหิน ซึ่งเดิมหมู่บ้านสะพานหินนั้นจะมีสันหินทอดแนวยาวเหมือนสะพานข้ามคลองผู้สัญจรสามารถเดินข้ามไปมาได้ มีต้นกำเนิดมาจากน้ำตกและน้ำตกนั้นก็เรียกว่าน้ำตกสะพานหิน มีหลวงนาวาเป็นผู้ดูแลรักษาความสงบของบ้านสะพานหินและบ้านแหลมตรัส(จนชามบ้านเรียกชื่อเพี้ยนมาเป็นบ้านแหลมกลัดในปัจจุบัน)
            ปัจจุบันวัดสะพานหินตั้งอยู่ที่ ๙ หมู่ ๕  ตำบลแหลมกลัด  อำเภอเมืองตราด  จังหวัดตราด  โดยห่างจากที่ว่าการอำเภอตราดไปทางทิตใต้ตามถนนสายตราด - คลองใหญ่ เป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร มีสันเขาทอดแนวยาวเรียกว่าเขาบรรทัดซึ่งติดกับชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา วัดสะพานหินห่างจากทะเลประมาณ ๑ กิโลเมตร มีเจ้าอาวาสสืบต่อมากันหลายองค์จนถึง พระครูอดุลยกิตติวัฒน์ (ท่านพ่อจีนกิตติโก)  เป็เจ้าอาวาสประจำวัด  ต่อมาพระครูอดุลยกิตติวัฒน์ ก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๔ ท่านอุปสมบทได้ ๔๖ พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ ๓๗ พรรษา อายุ ๗๖ ปี ปัจจุบันทางวัดสะพานหินได้เก็บศพท่านไว้ไห้สาธุชนและศิษย์ยานุศิษย์ได้กราบสักการบูชากันและท่านได้เป็นพระสุปฎิปันโนรูปหนึ่งที่ปฎิบัติดีมาโดยตลอด ในปัจจุบันนี้เจ้าอาวาสวัดสะพานหินองปัจจุบันนามว่า   พระครูกิตติวัฒน์ธำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ สืบต่อมา